เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 7. ขัชชนียสูตร

อริยสาวกทำอะไรให้พินาศ ไม่ก่ออะไร
คือ ทำรูปให้พินาศ ไม่ก่อรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ทำ
วิญญาณให้พินาศ ไม่ก่อวิญญาณ
ละทิ้งอะไร ไม่ถือมั่นอะไร
คือ ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ละทิ้งวิญญาณ
ไม่ถือมั่นวิญญาณ
เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้
คือ เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้
ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น
คือ ทำรูปให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่ก่อ ไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้
พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ไม่เรี่ยราย
ไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
อริยสาวกไม่ก่ออะไร ไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้ว
ดำรงอยู่
คือ ไม่ก่อรูป ไม่ทำรูปให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ก่อวิญญาณ ไม่ทำวิญญาณให้พินาศ แต่เป็นผู้
ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :124 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 8.ปิณโฑลยสูตร

ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ไม่ละทิ้งวิญญาณ ไม่ถือมั่นวิญญาณ แต่เป็นผู้ละทิ้งได้
แล้วดำรงอยู่
ไม่เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้ แต่เป็นผู้
เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่
ไม่ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้
แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่ทำรูปให้มอด ไม่ก่อรูปให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้
ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายพร้อมทั้งอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี
ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
‘ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ที่พวกเราไม่รู้ว่า ท่านอาศัยอารมณ์อะไรเล่า ถึงเข้าฌานอยู่”

ขัชชนียสูตรที่ 7 จบ

8. ปิณโฑลยสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ

[80] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์เพราะ
เหตุบางอย่างแล้ว เวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :125 }